วิธีทำรองเท้า Flowers & Bee Slippers




   วิธีทำรองเท้าใส่ในอาคาร Flowers & Bee Slippers   




 







































"แทนคำขอบคุณ"...

เนื่องจากทางร้านได้รับการอุดหนุนจากลูกค้าทุกท่านเป็นอย่างดีเสมอมา จึงเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญที่สุด เป็นกำลังใจและแรงผลักดันให้ทางร้านพยายามจัดทำผลงานควิลท์พร้อมวิธีการทำประกอบเผื่อเป็นไอเดียเพิ่มเติมให้ทุกท่านกันนะคะ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนและคอยติดตามผลงานมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ 

 

สำหรับผลงานชิ้นนี้เป็นรองเท้าสำหรับใส่ภายในบ้าน หรืออาคาร แบบน่ารักๆ ใช้โทนสีผ้าเข้มสไตล์ญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยลายแอพพริเคผสมกับเทคนิคการทำ Paper Piceing แบบประยุกต์ตัดต่อผ้าให้มีลวดลายและมิติมากยิ่งขึ้นค่ะ

ผลงานเป็นรองเท้า Handmade ออกแบบให้มีขนาดเหมาะพอดีกับเท้าของผู้สวมใส่โดยเฉพาะ พื้นรองเท้าเป็นผ้าหนังแบบหนา บุด้วยใยหนาและนิ่ม ให้สบายต่อการสวมใส่ถนอมฝ่าเท้า และทางร้านเลือกใช้ผ้าหนังเพื่อให้สามารถเช็ดรอยเปื้อนออกได้ง่าย ใต้พื้นรองเท้าเป็นผ้ากันลื่นแบบเหนียวและมีตุ่มถี่ไม่ให้เดินแล้วลื่นง่ายค่ะ หัวรองเท้าปิดด้านหน้าป้องกันการเดินแล้วเท้าโผล่ออกมาอาจจะเกิดการสะดุดได้ง่าย และหัวรองเท้ามีขนาดใหญ่ลึกใกล้ถึงข้อเท้าเพื่อให้เดินแล้วกระชับเท้ามากขึ้น โทนสีผ้าที่เลือกใช้โดยส่วนใหญ่รอบนอกเป็นผ้าโทนสีเข้มเพื่อไม่ให้เลอะง่ายนะคะ

ลายแอพพริเคบริเวณหัวรองเท้าเป็นรูปผึ้งน้อยข้างหนึ่งและดอกไม้อีกข้างหนึ่งนะคะ เมื่อใส่ทั้งสองข้างเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นผึ้งน้อยที่กำลังบินไปหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ค่ะ หัวรองเท้าทั้งสองข้างบุด้วยใยสปริงให้อยู่ทรง เพื่อให้สะดวกในการสวมใส่มากยิ่งขึ้นนะคะ

 

อุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นทั่วไป

1. เข็ม Click

- เข็มเย็บทั่วไป (Sharps Needles) No.10

- เข็มควิลท์ (Quilting Needles) No.9

- เข็มแอพพริเค (Applique Needles) No.12

- เข็มเย็บหนังหรือเข็มปัก (Embroidery Needles) No.3-9

2. เข็มหมุด 

- งาน Patchwork หรือ Paper Piecing : ควรเลือกใช้เข็มหมุดขนาดใหญ่พอสมควร และหัวเข็มหมุดควรมีลักษณะแบน Click

3. กรรไกรตัดด้าย Click

4. กรรไกรตัดผ้า/ กระดาษ/ พลาสติก Click

5. ปากกาเขียนผ้า (แบบลบออกได้ด้วยน้ำ, แบบระเหย หรือลบด้วยความร้อน) และปากกาเขียนเทมเพลต (แผ่นพลาสติกวาดแพทเทิร์น) Click

6. ปลอกนิ้ว, ปลอกข้อนิ้ว Click

7. ด้ายควิลท์ Click

หมายเหตุ: ตามตัวอย่างทางร้านใช้ด้าย YLI (USA) ด้ายควิลท์มือ 400 หลา No.2 สีน้ำตาลอ่อน Ecru ค่ะ Click

8. ด้ายแอพพริเค (สำหรับสอยชิ้นส่วนแอพพริเค) Click

หมายเหตุ: ตามตัวอย่างทางร้านใช้ด้าย YLI (USA) Applique 250 หลา No.22 สีน้ำตาลอมเทา Taupe ค่ะ Click

9. Freezer Paper Click

- Freezer Paper แบบหนา และ

- Freezer Paper แบบบาง

10. เตารีด Click

11. ดินสอ

12. ไม้บรรทัด

13. วงเวียน

14. สะดึง ขนาด 18 cm Click

15. พลาสติกวาด Pattern Click

หมายเหตุ: สำหรับลอกแพทเทิร์นจากกระดาษและตัดเพื่อเป็นเทมเพลตสำหรับวาดรองเท้านะคะ

 

วัสดุที่จำเป็นเฉพาะสำหรับทำรองเท้า

A. หัวรองเท้า

1. ผ้า

     1.1 ผ้าแอพพริเค (applique) ตัวผึ้ง & ดอกไม้ : sho109-0025 ผ้าทอจัดเซ็ท (Set-9pcs) สีเข้ม  Click 

     1.2 ผ้าทำ Paper Piecing : ผ้าทอ 1/4 เมตร (50 x 75 cm) click

           No.1 : sho109-0020 ผ้าทอ 1/4 เมตร (50 x 75 cm) สีที่ C Click

           No.2+3 : sho109-0015 ผ้าทอ 1/4 เมตร (50 x 75 cm) สีที่ A Click

           No.4+5 : sho109-0019 ผ้าทอ 1/4 เมตร (50 x 75 cm) สีที่ E Click

           No.6+8 : sho109-0026 ผ้าทอ 1/4 เมตร (50 x 75 cm) สีที่ D Click

           No.7+9 : sho109-0021 ผ้าทอ 1/4 เมตร (50 x 75 cm) สีที่ F Click

     1.3 ผ้าซับใน: ผ้า Cotton นอก Click

2. ไหมปัก (สีดำ)

3. ผ้ากุ๊นเล็ก ขนาด 3.5 cm Click

4. ใยสปริง 300 g Click

 

B. พื้นรองเท้า

1. ผ้าหนัง (แบบหนา) สีน้ำตาลเข้ม Click

2. ใยสังเคราะห์ 350 g Click

3. ผ้ากันลื่น

 

ท่านใดที่ต้องการชุดคิท (Kit Set) รองเท้า Flowers & Bees Slippers ทางร้านมีจำหน่ายในราคาชุดละ 590 บาท นะคะ Click

ภายในชุดคิทจะประกอบด้วยวัสดุที่จำเป็นโดยเฉพาะสำหรับทำรองเท้าทั้งหมด พร้อมแพทเทิร์นและหน้าปก(รูปภาพตัวอย่าง)สำหรับเทียบสีผ้าเวลาทำชิ้นงานได้สะดวกขึ้นนะคะ

 

แพทเทิร์น (Pattern) : แพทเทิร์นรองเท้า Flowers & Bee Slippers ราคาชุดละ 80 บาท (Size 39-40) Click

แพทเทิร์นรองเท้าเหมาะสำหรับท่านที่ใส่รองเท้า Size 39-40 นะคะ แต่ท่านใดที่ใส่รองเท้าขนาดเล็กกว่า หรือใหญ่กว่านี้สามารถนำแพทเทิร์นไปลองย่อ หรือขยายขนาดให้เหมาะกับเท้าของตัวเองได้นะคะ

 

แพทเทิร์นรองเท้า Flowers & Bee Slippers ใน 1 ชุดจะประกอบด้วยแพทเทิร์น ดังนี้

 

     1.1 แพทเทิร์นแอพพริเค

           1.1.1 แพทเทิร์นแอพพริเครองเท้าข้างซ้าย x 1

           1.1.2 แพทเทิร์นแอพพริเครองเท้าข้างขวา x 1

 

     1.2 แพทเทิร์น Paper Piecing 

           1.2.1 แพทเทิร์น Paper Piecing รองเท้าข้างซ้าย x 1

           1.2.2 แพทเทิรืน Paper Piecing รองเท้าข้างขวา x 1 

 

      1.3 แพทเทิร์นพื้นรองเท้า x 1

 

เนื้อหาประกอบด้วย

1. วิธีการเย็บรองเท้า
2. การทำแอพพริเคโดยใช้เทคนิคของ Freezer Paper
3. เรียนรู้เทคนิคการทำ Paper Piecing แบบประยุกต์
4. [Video] วิธีการปัก Back Stitch Click 
5. [Video] วิธีการปักปมผรั่งเศส French Knot Click

 

วิธีการทำ (How to Make)

1. ลอกแพทเทิร์นสำหรับทำ Paper Piecing ลงบนกระดาษ Freezer Paper (แบบบาง) ตัดเท่าแบบ

ข้อสังเกต

- Freezer Paper เป็นกระดาษที่มีลักษณะคล้ายกระดาษแข็งนะคะ ด้านหนึ่งจะเคลือบด้วยกาวบางๆ สำหรับใช้รีดติดกับผ้าด้านผิดเพื่อยึดติดกันชั่วคราว โดยส่วนใหญ่ในต่างประเทศ เช่น อเมริกา มักจะถูกนำมาใช้ในการทำแอพพริเคค่ะ ข้อดีคือด้านที่มีกาวจะช่วยยึดเกาะผ้าไม่ให้เขยื้อนได้ง่าย ช่วยไม่ให้ชิ้นงานออกมาย่นค่ะ และด้วยลักษณะพิเศษที่เป็นกระดาษสำหรับงานควิลท์และงานฝีมือ จึงสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ไม่เปื่อยหรือยุ่ยง่าย ช่วยลดระยะเวลาการวาดแพทเทิร์นลงได้ค่ะ

- ท่านใดที่ไม่มี Freezer Paper สามารถตัดกระดาษตามแพทเทิร์น(แผ่นที่เขียนไว้ว่าใช้สำหรับทำ Paper Piecing) ได้เลยนะคะ การทำ Paper Piecing เมื่อทำออกมาเสร็จแล้วชิ้นงานจะออกมากลับด้านกับแพทเทิร์นเสมอนะคะ แต่แพทเทิร์นของทางร้านจะกลับด้านของชิ้นงานไว้ให้แล้วนะคะ ดังนั้นจึงไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องทิศทางของชิ้นงาน เมื่อทำชิ้นงานออกมาเสร็จแล้วชิ้นงานที่ได้จะหันไปด้านเดียวกันกับตัวอย่างค่ะ แต่เนื่องจากแพทเทิร์นที่ให้ไปไม่ใช่กระดาษ Freezer Paper ดังนั้น อาจจะต้องคอยระวังเกลี่ยผ้าให้เรียบมากขึ้นนิดนึงนะคะ

 

 2. ทาบแพทเทิร์นหมายเลข 1 ลงบนผ้าด้านผิด กะระยะให้เพื่อตะเข็บ 0.7 cm โดยรอบ แล้วใช้เข็มหมุดกลัดไว้

 

3. ตัดผ้าเผื่อตะเข็บ 0.7 cm ให้ครบทั้ง 4 ด้าน

 

4. ด้านถูกเมื่อตัดผ้าครบทุกด้านจะได้ดังรูปนะคะ

 

5. วางผ้าชิ้นหมายเลข 2 หันด้านถูกขึ้นแล้ววางชิ้นส่วนตามข้อ 4 กะให้ตะเข็บเสมอกัน

 

6. กลัดเข็มหมุดตามแนวเส้นระหว่างหมายเลข 1 กับหมายเลข 2

 

7. ตลบผ้าชิ้นหมายเลข 2 ขึ้น สังเกตให้ชิ้นผ้าใหญ่กว่าแพทเทิร์นชิ้นหมายเลข 2 ประมาณ 0.7 cm โดยรอบ

 

8. ตัดผ้าเผื่อตะเข็บ 0.7 cm โดยรอบ

ท่านใดที่ยังไม่ชำนาญอาจจะข้ามไปเย็บตามข้อ 10 ก่อนก็ได้นะคะ แล้วค่อยมาตัดผ้าค่ะ โดยการตัดผ้าก่อน-หลังมีข้อดีข้อเสียดังนี้ค่ะ

การตัดผ้าก่อน (ตามข้อ 8 )

ข้อดี ทำให้ไม่เกะกะเวลาเย็บชิ้นงาน

ข้อเสีย หากตัดผ้าน้อยเกินและตะเข็บเล็กอาจจะต้องเลาะชิ้นงานออกและเย็บใหม่ ทำให้เสียเวลาและเสียผ้าชิ้นนั้นไปเลยได้ค่ะ

การเย็บก่อน (ตามข้อ 10) และจึงค่อยมาตัดผ้า

ข้อดี จะกะขนาดตัดผ้าให้ตะเข็บออกมาพอดีได้ง่ายกว่า ไม่เสียผ้าชิ้นนั้นและไม่ต้องเลาะผ้าออกเพื่อเย็บใหม่ค่ะ

ข้อเสีย หากใช้ผ้าชิ้นใหญ่มาทำ อาจจะรู้สึกเกะกะในขณะเย็บบ้างค่ะ

 

9. ตัดผ้าเผื่อตะเข็บ 0.7 cm ให้ครบทุกด้าน

 

10. เย็บตามแนวที่กลัดไว้ตามข้อ 6

 

11. ขลิบตะเข็บที่เย็บแล้วให้เรียบร้อย

 

12. ใช้ที่กรีดผ้า หรือเตารีด รีดล้มตะเข็บ

 

13. รีดเสร็จเรียบร้อยจะได้ดังรูป

 

14. ทำ Paper Piecing ในทำนองเดียวกันตามข้อ 5-13 จนครบทุกหมายเลข

 

15. ทำในทำนองเดียวกันตามข้อ 1-14 กับชิ้นส่วนรองเท้าอีกข้างก็เสร็จขั้นตอนการเย็บ Paper Piecing แล้วนะคะ

 

ลำดับต่อไปเป็นการทำแอพพริเค (applique) โดยใช้เทคนิคของ Freezer Paper ค่ะ

 

16. วาดแพทเทิร์นลงบนกระดาษ Freezer Paper (แบบหนา) ตัดเท่าแบบ

ข้อสังเกต: ท่านใดที่ไม่มี Freezer Paper จะใช้กระดาษแข็งพื้นขาว ที่ค่อนข้างแข็งและไม่ยุ่ยง่ายแทนก็ได้นะคะ

 

17. ตัดผ้าให้มีขนาดใหญ่กว่า Freezer Paper ประมาณ 0.7 cm โดยรอบ

 

18. รีดด้านกาวของ Freezer Paper บนผ้าด้านผิด และรีดให้ตะเข็บพับเข้ามาโดยรอบ

 

19. ดึง Freezer Paper ออก จะได้สันสำหรับสอยแอพพริเค

 

20. วาดแพทเทิร์นรูปวงกลมบนกระดาษ Freezer Paper

 

21. ตัดผ้าให้มีขนาดใหญ่กว่า Freezer Paper 0.7 cm โดยรอบ

 

22. เนาผ้าโดยรอบ ระยะห่างประมาณ 2 mm

 

23. ดึงด้ายที่เนาไว้เพื่อรูดเข้ามาให้เป็นวงกลม

 

24. รีดตะเข็บ

 

25. ดึง Freezer Paper ออก และรูดผูกปมด้าย

 

26. ผูกปมด้ายเสร็จเรียบร้อย จะได้ดังรูปค่ะ

 

27. ทำตามขั้นตอนที่ 21-26 กับชิ้นปีกอีกชิ้น

ไม่ต้องวาดแพทเทิร์นตามขั้นตอนที่ 20 อีกรอบแล้วนะคะ เนื่องจาก Freezer Paper สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง

 

28. วาดแพทเทิร์นลายผึ้งลงบน Freezer Paper ด้านที่มีกาว ตัดเท่าแบบ

ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องวาดแพทเทิร์นลงบนด้านที่มีกาวนะคะ เพราะจะทำให้ชิ้นงานเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วหันไปในทิศทางเดียวกันกับแพทเทิร์นค่ะ

 

29. รีด Freezer Paper บนผ้า ให้ด้านกาวของ Freezer Paper ถูกรีดลงบนผ้าด้านผิด ขลิบบริเวณส่วนเว้าเพื่อไม่ให้ผ้ารั้ง

 

30. รีดเพื่อพับริมชิ้นส่วนโดยรอบ

 

31. วาดแพทเทิร์นรูปตัวผึ้งและลายผึ้งลงบนแผ่นพลาสติกแล้วตัดเท่าแบบ

 

32. นำชิ้นส่วนที่ตัดแล้วตามข้อ 31 มาทาบลงบนผ้าชิ้นตัวผึ้ง ให้ชิ้นบนและล่างตรงกัน

วิธีนี้จะช่วยให้ตำแหน่งของลายผึ้งไม่คลาดเคลื่อนไปจากแพทเทิร์นนะคะ

 

33. วาดเส้นลายผึ้งด้วยปากกาเขียนผ้าแบบลบออกได้ด้วยน้ำ หรือแบบระเหย

ท่านใดที่ต้องการสอยแอพพริเคให้ออกมานูน ไม่แนะนำให้ใช้ปากกาเขียนผ้าชนิดลบด้วยความร้อนนะคะ เนื่องจากรอยนูนจะถูกกดทับลงด้วยเตารีดค่ะ

 

34. นำชิ้นลายผึ้งมาสอยกับตัวผึ้ง

วิธีการสอยสามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ในวิธีการทำกระเป๋าเคสโทรศัพท์ Chirstmas Rose Phone Case Click

 

35. ลอกแพทเทิร์นรองเท้าบนแผ่นพลาสติกและนำมาทาบกับชิ้นตัวผึ้งให้ตรงกันตามรูป

 

36. วาดแพทเทิร์นตัวผึ้งลงบนผ้าด้วยปากกาเขียนผ้า

 

37. สอยชิ้นปีกผึ้ง สังเกตให้อยู่ภายในโครงร่างตัวผึ้งตามแนวที่วาดไว้ด้วยปากกาเขียนผ้า

 

38. สอยชิ้นปีกผึ้งอีกชิ้น

 

39. สอยชิ้นตัวผึ้ง

 

40. สอยแอพพริเคกับชิ้นรองเท้าอีกข้าง

 

41. จุดตาผึ้ง ด้วยปากกาเขียนผ้า

 

42. ขีดเส้นบินของผึ้ง

 

43. ปักเส้นบินของผึ้งด้วยวิธีการปักแบบ Back Stitch

หมายเหตุ: ท่านใดที่กดเล่นวิดีโอแล้วภาพไม่ชัดสามารถลองปรับให้วิดีโอมีความละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อเข้าชมแบบ HD ได้ดังนี้นะคะ

1. กดเล่นวิดีโอบริเวณเครื่องหมาย Play

2. คลิกที่ปุ่มตั้งค่า (รูปฟันเฟือง)

3. เลือกคุณภาพที่ต้องการรับชมแบบ HD

 

44. ปักตาของผึ้งด้วยวิธีการปักปมฝรั่งเศส (French Knot)

วิธีการปักปมฝรั่งเศสนี้ท่านใดจะนำไปใช้ปักแทนการเย็บติดตาตุ๊กตาด้วยกระดุม หรือปักหลายๆ ปมรวมกันเป็นช่อดอกไม้ก็ได้นะคะ

 

45. ปักตาผึ้งและเส้นบินของผึ้งเสร็จเรียบร้อย

 

46. วางซับใน ใย(สปริง 300 g) ตามด้วยผ้าชิ้นบนแล้วควิลท์รอบตัวผึ้ง

วิธีการควิลท์ด้วยมือ สามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ในวิธีการทำกระเป๋าเคสโทรศัพท์ Chirstmas Rose Phone Case Click

 

47. ควิลท์ตามแนวเส้นตรงที่เย็บ Paper Piecing ไว้ทุกเส้น เผื่อให้เกิดรอยนูน

 

48. ควิลท์รอบดอกไม้และใบไม้

 

49. ควิลท์ตามแนวเส้นตรงที่เย็บ Paper Piecing ไว้ทุกเส้น เช่นเดียวกับขั้นตอนในข้อ 47 ค่ะ

 

50. วาดแพทเทิร์นลงบนผ้าอีกครั้งและตัดเผื่อตะเข็บ 0.7 cm โดยรอบ

 

51. นำผ้ากุ๊นมาเย็บกุ๊นโดยรอบ

 

52. พับผ้ากุ๊นไปด้านหลังและสอยกุ๊นให้เรียบร้อย

วิธีการสอยกุ๊น สามารถเช้าชมเพิ่มเติมได้ใน วิธีการทำกระเป๋าราตรี Spring Rose Click

 

53. สอยกุ๊นหัวรองเท้าอีกข้างในทำนองเดียวกันตามขั้นตอนที่ 51-52

 

54. วางใย 350 g ซ้อนกัน 2 ชั้น วางผ้าหนัง ตามด้วยผ้ากันลื่น ด้านถูกของผ้าประกบกันนะคะ แล้วเย็บเท่าแพทเทิร์น เว้นช่องไว้กลับตะเข็บ

วิธีการวางซ้อนผ้าบนใยสำหรับเย็บเพื่อกลับตะเข็บโดยละเอียด สามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ในวิธีการทำกระเป๋าเคสโทรศัพท์ Chirstmas Rose Phone Case ขั้นตอนที่ 41-42 ค่ะ Click

 

55. เซาะใยออกชิดตะเข็บ

 

56. กลับตะเข็บออกมาแล้วสอยให้เรียบร้อย

วิธีการสอย สามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ในวิธีการทำกระเป๋าเคสโทรศัพท์ Chirstmas Rose Phone Case  Click

 

57. นำชิ้นหัวรองเท้ามาเย็บกดลงบนพื้นรองเท้าตามแนวผ้ากุ๊น สังเกตแนวเย็บตามรูปนะคะ ร่องบริเวณขอบผ้ากุ๊นที่ลึกลงไปเกิดจากการเย็บกดทับลงไปค่ะ

 

58. เย็บกดชิ้นหัวรองเท้าอีกข้างลงบนพื้นรองเท้าก็เสร็จเรียบร้อยค่ะ

ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามผลงานของ Vanida Quilts นะคะ ^^